ยินดีต้อนรับสู่ ... เว็บไซต์การจัดการเรียนรู้ทางการศึกษา

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 29 ตุลาคม 2558
งานพื้นฐานใน Excel 2013

     Excel เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการดึงความหมายที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลจำนวนมากออกมา แต่ยังทำงานได้ดีสำหรับการคำนวณอย่างง่ายและการติดตามข้อมูลเกือบทุกชนิดด้วยเช่นกัน กุญแจสำคัญของความสามารถทั้งหมดนั้น คือ ตารางของเซลล์ เซลล์อาจมีข้อมูลตัวเลข ข้อความ หรือสูตร คุณใส่ข้อมูลในเซลล์ จากนั้นจัดกลุ่มข้อมูลเหล่านั้นเป็นแถวและคอลัมน์ ซึ่งทำให้คุณสามารถเพิ่มข้อมูล เรียงลำดับและกรองข้อมูลนั้น ใส่ข้อมูลลงในตาราง และสร้างแผนภูมิที่สวยงามได้ ลองมาดูขั้นตอนพื้นฐานที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นใช้งานได้

สร้างเวิร์กบุ๊กใหม่
เอกสาร Excel เรียกว่าเวิร์กบุ๊ก แต่ละเวิร์กบุ๊กจะมีเวิร์กชีต ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่าสเปรดชีต คุณสามารถเพิ่มเวิร์กชีตลงในเวิร์กบุ๊กได้มากเท่าที่คุณต้องการ หรือคุณสามารถสร้างเวิร์กบุ๊กใหม่เพื่อเก็บข้อมูลของคุณแยกต่างหากก็ได้
1. คลิก ไฟล์ > ใหม่
2.ภายใต้ ใหม่ ให้คลิกที่ เวิร์กบุ๊กเปล่า




ใส่ข้อมูลของคุณ
1. คลิกตรงเซลล์ที่ว่าง ตัวอย่างเช่น เซลล์ A1 บนเวิร์กชีตใหม่ เซลล์ถูกอ้างอิงโดยตำแหน่งที่ตั้งของเซลล์ในแถวและคอลัมน์บนเวิร์กชีต ดังนั้นเซลล์ A1 จะอยู่ในแถวแรกของคอลัมน์ A
2. พิมพ์ข้อความหรือตัวเลขลงในเซลล์
3. กด Enter หรือ Tab เพื่อย้ายไปยังเซลล์ถัดไป

ใช้ ผลรวมอัตโนมัติ เพื่อรวมข้อมูล
เมื่อคุณได้ใส่ตัวเลขในเวิร์กชีตของคุณ คุณอาจต้องการบวกตัวเลขเหล่านั้น วิธีที่รวดเร็วในการทำคือใช้ ผลรวมอัตโนมัติ
1. เลือกเซลล์ที่อยู่ทางด้านขวาหรือด้านล่างของตัวเลขที่คุณต้องการรวม
2. คลิก หน้าแรก > ผลรวมอัตโนมัติ หรือกดแป้น Alt+=





ผลรวมอัตโนมัติจะบวกตัวเลขต่างๆ และแสดงผลลัพธ์ในเซลล์ที่คุณเลือกไว้

สร้างสูตรอย่างง่าย
การบวกตัวเลขเป็นเพียงหนึ่งในสิ่งที่คุณสามารถทำได้ แต่ Excel ยังสามารถทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ได้ด้วย ลองใช้สูตรง่ายๆ บางสูตรเพื่อบวก ลบ คูณหรือหารตัวเลขของคุณ
1. เลือกเซลล์และพิมพ์เครื่องหมายเท่ากับ (=) ซึ่งจะบอกให้ Excel ทราบว่าเซลล์นี้จะมีสูตรอยู่
2. พิมพ์ตัวเลขและตัวดำเนินการการคำนวณรวมกัน เช่น เครื่องหมายบวก (+) สำหรับการบวก เครื่องหมายลบ (-) สำหรับการลบ เครื่องหมายดอกจัน (*) สำหรับการคูณ หรือเครื่องหมายทับ (/) สำหรับการหาร
ตัวอย่างเช่น ใส่ =2+4, =4-2, =2*4 หรือ =4/2
1. กด Enter เพื่อทำการคำนวณ นอกจากนี้ คุณยังสามารถกด Ctrl+Enter หากคุณต้องการให้เคอร์เซอร์อยู่บนเซลล์ที่ใช้งานอยู่

นำรูปแบบตัวเลขไปใช้
เมื่อต้องการแยกความแตกต่างระหว่างชนิดตัวเลขที่แตกต่างกัน ให้เพิ่มรูปแบบ เช่น สกุลเงิน เปอร์เซ็นต์ หรือวันที่
1. เลือกเซลล์ที่คุณมีตัวเลขที่ต้องการจัดรูปแบบ
2. คลิก หน้าแรก > ลูกศรถัดจาก ทั่วไป


เลือกรูปแบบตัวเลข



ถ้าไม่มีรูปแบบตัวเลขที่ต้องการใช้ ให้คลิกที่ รูปแบบตัวเลขเพิ่มเติม


บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2558


งานพื้นฐานสำหรับการสร้างงานนำเสนอใน PowerPoint
      งานนำเสนอ PowerPoint ทำงานเหมือนกับการฉายสไลด์ เมื่อต้องการสื่อความหมายข้อความหรือเรื่องเล่าหนึ่ง ลองแบ่งย่อยออกเป็นหลายๆ สไลด์ดู ให้คิดว่าแต่ละสไลด์เป็นเหมือนพื้นที่ว่างสำหรับรูปภาพ ข้อความ และรูปร่างที่จะช่วยสร้างสรรค์เรื่องราว

เลือกธีม
1.เลือกธีม
2. คลิก สร้าง หรือเลือกธีมสี จากนั้นคลิก สร้าง



แทรกสไลด์ใหม่
   บนแท็บ หน้าแรก ให้คลิก สไลด์ใหม่ แล้วเลือกเค้าโครงสไลด์
                     
                                         แสดงปุ่ม สไลด์ใหม่ บนแท็บ หน้าแรก บน Ribbon ใน PowerPoint


บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2558


         แถบชื่อ (Title Bar : ไตเติ้ลบาร์)    เป็นแถบสีน้ำเงินอยู่บนสุดของหน้าต่าง ทางด้านซ้่ายประกอบด้วยสัญลักษณ์ของโปรแกรม (คอนโทรลเมนู) ชื่อแฟ้มข้อมูล
ที่กำลังเปิดใช้่งานอยู่ ชื่อโปรแกรม ส่วนด้านขวามือเป็นปุ่มควบคุมหน้าต่าง 3 ปุ่ม ได้แก่ ปุ่มมินิไมซ์, ปุ่มรีสโตร์ ดาวน์ หรือปุ่มแมกซิไมซ์ (ขึ้นอยู่กับสถานะของหน้าต่างขณะใช้งาน) และ ปุ่มปิดโปรแกรม




แถบคำสั่ง (Menu Bar : เมนูบาร์)
        แถบที่สองรองจากไตเติ้ลบาร์ เป็นแถบที่ใช้แสดงรายชื่อคำสั่งต่าง ๆ เพื่อให้เราเลือกใช้สำหรับทำงานในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด



แถบเครื่องมือ (Toolbars : ทูลบาร์)

       แถบที่มีรูปสัญลักษณ์แทนคำสั่งต่าง ๆ ที่เรียกใช้งานบ่อย ๆ ซึ่งแถบเครื่องมือหลักที่ใช้ประจำมี 3 ชนิด คือ
1. แถบเครื่องมือมาตรฐาน (Standard toolbars : แสตนดาร์ดทูลบาร์) ประกอบด้วยปุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแฟ้มข้อมูล
เช่น การสร้าง การเปิดแฟ้มข้อมูล การบันทึกแฟ้มข้อมูล การสำเนาข้อความ เป็นต้น
2. แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ (Formatting toolbars : ฟอร์แมตติ้งทูลบาร์) ประกอบด้วยปุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบ
ให้กับตัวอักษร ข้อความ ย่อหน้า เช่น เปลี่ยนขนาดตัวอักษร ทำตัวเอียง ตัวหนา การจัดวางตัวอักษร เป็นต้น
3. แถบเครื่องมือรูปวาด (Drawing toolbars : ดรอว์อิ้งทูลบาร์) ใช้สำหรับสร้่างและจัดการรูปวาด
การเรียกใช้แถบเครื่องมือสามารถเรียกได้ที่คำสั่งมุมมองบนเมนูบาร์ โดยการคลิกที่คำสั่งมุมมองและคลิกคำสั่งย่อย "แถบเครื่องมือ"
เลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการให้แสดง จะปรากฎเครื่องหมาย √ หน้าชื่อเครื่องมือนั้น





ไม้บรรทัด (Ruler : รูเลอร์)
     เป็นส่วนที่บอกขอบเขตพื้นที่ในการพิมพ์ ไม้บรรทัดจะมีเฉพาะด้านบนของหน้าจอ (ในมุมมองปกติ) แต่จะมีอยู่ที่ด้านบนและด้านซ้ายของหน้าจอ (ในมุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์)
ไม้บรรทัดด้านบน จะมีรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ที่ด้านซ้ายสุดและขวาสุด ใช้สำหรับย่อหน้าข้อความและปรับพื้นที่ในการพิมพ์ ตามลำดับการเรียกใช้ไม้บรรทัดสามารถเรียกได้ที่คำสั่งมุมมองบนเมนูบาร์ โดยการคลิกที่คำสั่งมุมมอง และคลิกที่คำสั่งย่อย "ไม้บรรทัด"




บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 15 ตุลาคม 2558

สรุปความรู้ที่ได้จาก VDO

             การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการจัดการให้มีการค้นพบความรู้ ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดให้งดงาม และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาละเทศะยิ่งขึ้น มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาเจอกัน

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ประจำวันที่ 17 กันยายน 2558 


infographic รู้เท่าทันสื่อ ไอซีที




วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558


infographic เรื่อง มิติใหม่การศึกษา .... เดินหน้าประเทศไทย



บันทึกการเรียนรู้ประจำวัน วันที่ 27 สิงหาคม 2558


"โมเดลปลาทู" เป็นโมเดลที่เปรียบการจัดการความรู้เป็น ๓ ส่วน คือ


         ส่วนหัวและตา หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางการจัดการความรู้ เป็นส่วนที่ต้องตอบให้ได้ว่าทำการจัดการความรู้ไปเพื่ออะไร ประเด็นที่สนใจที่จะนำมาทำการจัดการความรู้นั้นคือเรื่องอะไร เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์กรอย่างไร ควรเป็นความเห็นร่วมกันของคนในองค์กร โดยสร้างความเข้าใจในประโยชน์ที่จะได้รับ และร่วมกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน

         ส่วนลำตัวปลา หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ (Tacit knowledge) โดยอาจใช้รูปแบบของ best practice การสอนงานในองค์กร การศึกษาเพิ่มเติม เรียนรู้ความสำเร็จของผู้อื่น หรือชุมชนนักปฏิบัติ และอำนวยให้เกิดการเรียนรู้แบบเป็นทีม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนความรู้และเกิดนวัตกรรมในที่สุด

          ส่วนหางปลา หมายถึง ส่วนของคลังความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสมเกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี โดยยึดหลักให้มีการสรุปประเด็นที่สำคัญ มีการอ้างอิงที่ถูกต้อง ง่ายต่อการสืบค้นและนำไปใช้ สะดวกต่อการถ่ายโอนและกระจายความรู้ ถือเป็นการสกัด Tacit knowledge ให้เป็น Explicit knowledge แล้วนำไปใช้เพื่อพัฒนาและยกระดับให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ต่อไป






อ้างอิง

http://psu-mit13.com/1062/jl1062/2015-04-30-14-58-42/12-2015-05-01-17-29-45.วันที่ค้นหา 2 กันยายน 2558.